หน้าแรก
รอบรู้เรื่องกัญชา
บทความ
วิดีโอ
อินโฟกราฟิก
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
ยาสารสกัดกัญชา
ตำรับยากัญชาแผนไทย
น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน
คลินิกกัญชา
ข่าวและกิจกรรม
ถาม-ตอบ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
×
หน้าแรก
รอบรู้เรื่องกัญชา
บทความ
วิดีโอ
อินโฟกราฟิก
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
ยาสารสกัดกัญชา
ตำรับยากัญชาแผนไทย
น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน
คลินิกกัญชา
ข่าวและกิจกรรม
ถาม-ตอบ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
×
ปลดล็อค...
กัญชาทางการแพทย์เสรี
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ยาแก้นอนไม่หลับ / ยาแก้ไข้ผอมเหลือง
(อยู่ระหว่างการผลิต)
ที่มาของตำรับยา
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 128
“กัญชา แก้ไข้ผอมเหลืองหากำลังมิได้ ให้ตัวสั่นเสียงสั่นเปนด้วยวาโยธาตุกำเริบ แก้นอนมิหลับ เอาตรีกะฏุก 1 จันทน์ทั้ง 2 ใบสะเดา 2 ใบคนทีเขมา 1 พริกล่อนเสมอภาค ใบกันชาเท่ายาทั้งหลายทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มซ่า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบ็ญจทับทิมต้มละลายยากินหายแล”
สูตรตำรับยา
ประกอบด้วย ตัวยา 8 ชนิด รวมน้ำหนัก 16 ส่วน ดังนี้
ลำดับ
ตัวยา
น้ำหนักยา
1
ขิงแห้ง
1 ส่วน
2
พริกไทยล่อน
2 ส่วน
3
ดีปลี
1 ส่วน
4
จันทน์แดง
1 ส่วน
5
จันทน์ขาว
1 ส่วน
6
ใบสะเดา
1 ส่วน
7
ใบคนทีเขมา
1 ส่วน
8
ใบกัญชา
8 ส่วน
ข้อบ่งใช้
แก้นอนไม่หลับ แก้ไข้ผอมเหลือง ที่มีอาการตัวสั่น เสียงสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง
รูปแบบยา
ยาผง แคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้
น้ำมะพร้าว น้ำผึ้งรวง น้ำส้มซ่า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบญจทับทิมต้ม
ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรระวัง
ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ
ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ข้อมูลเพิ่มเติม
ไข้ผอมเหลือง เกิดจากธาตุลมกำเริบส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับ เบื่ออาหาร เมื่อเป็นเรื้อรัง ร่างกายผ่ายผอม ซีด เหลือง อ่อนเพลีย และไม่มีกำลัง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคริดสีดวง
ริดสีดวง เป็นโรคกลุ่มหนึ่ง เกิดได้กับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา จมูก ลำไส้ ทวารหนัก ตำราการแพทย์แผนไทยว่า มี 18 ชนิด แต่ละชนิดมีอาการและชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางชนิดอาจมีติ่งหรือก้อนเนื้อเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น ริดสีดวงตา ริดสีดวงทวารหนัก
เอกสารอ้างอิง
พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส; ร.ศ. 128. หน้า 476.
ย้อนกลับ
Modal Header
ผิดพลาด
ยืนยันการลบข้อมูล
ปิด
x